หมวดหลักสูตร
Click ที่หลักสูตรลงทะเบียนได้ทันที )
ปฏิทินรายเดือน 2567
จัดซื้อ/นำเข้า-ส่งออก
(PS / PS - Import &Export)
ปฏิทินรายเดือน 2567
ระบบคุณภาพ-ผลิตภาพ-บุคคล
(QS-PI-HR)
ตารางอบรมปี 2567 (Download/Print**)
แผนที่โรงแรม (ใกล้ BTS)
ประวัติวิทยากร (บางส่วน)
แบบฟอร์มขอใบเสนอราคา
📢📣 รับสมัครพนักงาน
📌พนักงานขาย และการตลาด​ (Partime)​ 1​ ตำแหน่ง
- ​มีประสบการณ์การทำงาน 
หรือรางวัลผลงาน​ มีconnection
ที่ดี มีรางวัลการันตี

สนใจติดต่อ ☎️/
092-835-2953,092-775-5853
ผู้ชม
วันนี้ 274
เมื่อวาน 227
ทั้งหมด 288,315
ชมหน้าอื่นๆ
วันนี้ 505
เมื่อวาน 242
ทั้งหมด 327,332
ทัศนคติความแตกต่างระหว่างต้นทุนทางบัญชีและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์

บทความใหม่ : 

“ ทัศนคติความแตกต่างระหว่างต้นทุนทางบัญชีและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์

( Attitude Difference Between Cost of Accounting and Cost of Economics ) 

โดย : อ.รมณีย์ กองแก้ว (  Mobile : 092-835 2953 )  บริษัท เอสเอสอาร์ ควอลิตี้ เซ็นเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด E-mail:  ssr.qualitycenter@gmail.com  Web: www.ssrqualitycenter.com  Line ID : ssr_trainingservice

สวัสดีค่ะ  

มีบทความมาชวนอ่านทุกวันที่ ของทุกเดือนค่ะ  เดือนนี้ตรงกับวันพฤหัสที่ 9 กันยายน 2564

ขอให้เป็นก้าวที่ดีของทุกท่าน เป็น 9 แห่งการเริ่มต้นใหม่   แห่งความสว่างสดใส   ที่จะประสบความสำเร็จนะคะ 

สำหรับบทความประจำเดือนนี้จะกล่าวถึง

“ ทัศนคติความแตกต่างระหว่างต้นทุนทางบัญชีและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์

( Attitude Difference Between Cost of Accounting and Cost of Economics ) 

ต้นทุน หรือ ค่าใช้จ่าย (Cost) หมายถึง มูลค่าของปัจจัยนำเข้าที่มาใช้ในโครงการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามมา หรือเป็นความสูญเสียทั้งหมดที่ทำให้เกิดโครงการขึ้น และสามารถจำแนกได้หลายแบบขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนก ไว้ดังนี้

                                                          

1)จำแนกต้นทุนโดยเกณฑ์ " ผู้รับภาระต้นทุน " ได้แก่

1.1 ต้นทุนภายใน (Intemal Cost) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นภายในองค์กรที่จัดการ

1:2 ต้นทุนภายนอก (External Cost )เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการหรือชุมชน

 

2) จำแนกต้นทุนโดยใช้เกณฑ์ " กิจกรรม " ได้แก่

2.1 ต้นทุนทางตรง (Direct Costs) 

คือ ค่าใช้จ่ายที่กำหนดขึ้น ซึ่งมีผลโดยตรงต่อหน่วยการผลิต ของผลิตภัณฑ์หรือต่อฝ่ายที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหน่วยผลิตโดยเฉพาะได้แก่ค่าวัตถุดิบทางตรง (Direct material)ค่าแรงงานทางตรง ( Direct labor ) และค่าโสหุ้ยทางตรง

 2.2 ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Costs or Overhead Costs )

 คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ร่วมกันระหว่างผลิตภัณฑ์หรือระหว่างฝ่ายที่มีหน้าที่แตกต่างกันเป็นต้นทุนที่มิอาจคิดแยกตามแต่ละหน่วยของผลิตภัณฑ์หรือที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องชัดเจน ได้แก่  ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม และค่าโสหุ้ยทางอ้อม ซึ่งต้องคิดกระจายต้นทุนทั้งหมดให้เป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์

 

ต้นทุนสำหรับ “ นักบัญชี    จะนับเฉพาะรายการที่เป็นตัวเงินซึ่งได้จ่ายไปจริงและมองเห็นเท่านั้น

ต้นทุนสำหรับ “ นักเศรษฐศาสตร์    ทรัพยากรที่ใช้ไปทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน รวมผลทางด้านลบ ( Negative Consequence ) ซึ่งไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายและมองไม่เห็น แต่จะมีการกำหนดค่าประเมินขึ้น และนับรวมเข้าเป็นต้นทุนด้วย ต้นทุนในลักษณะนี้เรียกว่า  " ค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) " ดังนั้น ต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์จึงมักสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี


หลัก 3 ประการ

1. พยายามประเมินมูลค่าความยินยอมที่จะจ่าย

2. คำนวณส่วนลด สำหรับต้นทุนในอนาคตเสมอ

3.วิเคราะห์มูลค่าที่เกิดจากความไม่แน่นอน

 

ยกตัวอย่าง

การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจความยินยอมที่จะจ่าย  ได้แก่   ประหยัดเวลา 10 นาที ต่อคนมีมูลค่าเท่าไร , มูลค่าของการลดการติดเชื้อCovid ลง 1 คนต่อเดือน เป็นต้น !!!

                

 โดย อ.รมณีย์ กองแก้ว ( Tel.: 092 835 2953 )

ที่ปรึกษาระบบคุณภาพ เพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุน

               วันที่  9  กันยายน 2564

 

 


สนใจบริการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาที่ :

บริษัท เอสเอสอาร์ ควอลิตี้ เซ็นเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด สำนักงานใหญ่ )

Tel : 02-102 1898, 092-775 5853 Hotline : 092-835 2953, Line no.  : 092-835 2953  

E-mail.: ssr.qualitycenter@gmail.com , Web . :  www.ssrqualitycenter.com

 
 
เว็บสำเร็จรูป
×