หมวดหลักสูตร
Click ที่หลักสูตรลงทะเบียนได้ทันที )
ปฏิทินรายเดือน 2567
จัดซื้อ/นำเข้า-ส่งออก
(PS / PS - Import &Export)
ปฏิทินรายเดือน 2567
ระบบคุณภาพ-ผลิตภาพ-บุคคล
(QS-PI-HR)
ตารางอบรมปี 2567 (Download/Print**)
แผนที่โรงแรม (ใกล้ BTS)
ประวัติวิทยากร (บางส่วน)
แบบฟอร์มขอใบเสนอราคา
📢📣 รับสมัครพนักงาน
📌พนักงานขาย และการตลาด​ (Partime)​ 1​ ตำแหน่ง
- ​มีประสบการณ์การทำงาน 
หรือรางวัลผลงาน​ มีconnection
ที่ดี มีรางวัลการันตี

สนใจติดต่อ ☎️/
092-835-2953,092-775-5853
ผู้ชม
วันนี้ 175
เมื่อวาน 227
ทั้งหมด 288,216
ชมหน้าอื่นๆ
วันนี้ 357
เมื่อวาน 242
ทั้งหมด 327,184
การทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงคงอยู่อย่างยั่งยืน ( Sustaining the change results )


 


บทความใหม่          

 

การทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงคงอยู่อย่างยั่งยืน  ( Sustaining the change results )




โดย : คุณรมณีย์ กองแก้ว บริษัท เอสเอสอาร์ ควอลิตี้ เซ็นเตอร์ (ไทยแลนด์จำกัด วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.. 2563

Mobile : 092-835 2953, 02-102 1898  Email:  ssr.qualitycenter@gmail.com  Web: www.ssrqualitycenter.com  

 สวัสดีค่ะทุกท่าน  สำหรับบทความในเดือนนี้ เทคนิคการทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงคงอยู่อย่างยั่งยืน ( Sustaining the change results ) ”  

การเปลี่ยนแปลงจะคงอยู่หรือจะยั่งยืนหรือไม่นั้นจะต้องอาศัยหลักการหลายๆด้าน โดยเฉพาะหลักการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

 

1.      กำหนดตัวชี้วัด(KPI)  คือการนับ หรือวัดที่มีผลออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งลักษณะตัววัดที่ดีนั้นต้องสอดคล้องกับ หลักการ“ SMART  ดังภาพ  

 

 

 

 

ซึ่งตัวชี้วัดที่ดีต้องเข้าใจง่าย และเก็บข้อมูลได้ง่ายไม่ซับซ้อน สามารถวัดความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าขององค์กรได้ โดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับ

  “ Q = Quality / C = Cost / D = Delivery / S = Safety /M = Moral /P = Productivity “

 

2.      การบริหารงานประจำวัน  (Daily Operation Management )  คือการบริหารจัดการโดยอาศัยการทำงานร่วมกันของแต่ละแผนก เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล  ผลที่ได้จะสะท้อนไปถึงตัวชี้วัด ( KPI ) ที่กำหนด ซึ่งหากกำหนดตัวชี้วัดดีมีการบริหารจัดการที่ดีก็จะส่งผลออกมาได้ตรงตามที่องค์กรต้องการอย่างยั่งยืน

 

3.      การสร้างแรงจูงใจ ( Motivation )  ตามแนวคิดของ Maslow ( นักจิตวิทยามนุษย์ระดับโลก ที่ชื่อว่า อับราฮัม มาสโลว์ ( Abraham Maslow) ) ได้ลำดับความต้องการของมนุษย์เป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

 

1.     ความต้องการด้านร่างกายหรือด้านกายภาพ (Physiological Needs)

2.     ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs)

3.     ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love Need)

4.     ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและความภาคภูมิใจ (Self- Esteem Need)

5.     ความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-Actualization Needs)

 

4.      สร้างวัฒนธรรมองค์กร ( Create corporate culture ) คือสิ่งที่องค์กำหนดขึ้นมา และถือเป็นธรรมเนียมหรือประเพณีที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม โดยเฉพาะองค์กรแบบคนญี่ปุ่น มักจะมีการกำหนดออกมาในรูปแบบ                    เสียงดัง ฟังชัด รู้เป้าหมาย มีขวัญและกำลังใจ

 

สุดท้ายนี้ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงคร่าวๆ หากสนใจอบรมเพิ่มเติมสามารถอบรมได้หลักสูตร การพัฒนาทักษะพนักงานควบคุมคุณภาพและฝ่ายผลิตอย่างมืออาชีพ (The development of professional skills for staffs responsible for quality control and production)


                                                                                    รมณีย์  กองแก้ว 9-10-63

        ( ผู้เขียน )

 
 
เว็บสำเร็จรูป
×